ภาษีเหล้าเบียร์ 2565 ภาษีสุราต่างประเทศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เผย เพิ่มพิกัดภาษีเบียร์ สุรา แอลกอฮอล์ 0% ยี่ห้อไหน ปริมาณแอลกอฮอล์มาก จ่อโดนเก็บภาษีเพิ่ม เพื่อลดอัตราบริโภค ประชาชนได้ดูแลสุขภาพภาษีเหล้าเบียร์ ล่าสุด วันที่ 7 กันยายน 2565
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต ออกมากล่าว โดยเป็นการให้ข้อมูล โครงสร้างภาษีสินค้า 6 ประเภท ที่จะทำผลการศึกษาให้แล้วเสร็จ ภายในปีงบประมาณ 2566 โดยเนื้อหาของโครงสร้างภาษีสินค้าหกประเภท ประกอดบ้วย เอทานอลบริสุทธิ์ที่ใช้ผลิต Bio Plastic , เชื้อเพลิง Bio Jet , ภาษีแบตเตอรี่ที่สามารถรีไซเคิลได้ ตลอดจนเพิ่มพิกัดอัตราภาษีคาร์บอนเครดิต , ภาษีบุหรี่ไฟฟ้า และ ภาษีเบียร์ สุรา แอลกอฮอล์ 0%
รายละเอียดโครงสร้างภาษีสินค้า 6 ประเภท มีดังนี้
การสนับสนุนการนำเอทานอลบริสุทธิ์มาใช้ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bio Plastic)
เชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยาน (Bio Jet)
การปรับโครงสร้างภาษีแบตเตอรี่ที่สามารถรีไซเคิลได้เหลือ 2%
เพิ่มพิกัดอัตราภาษีคาร์บอนเครดิต
เพิ่มพิกัดภาษีบุหรี่ไฟฟ้า
เพิ่มพิกัดภาษีเบียร์ สุรา แอลกอฮอล์ 0%
ทั้งนี้ ส่วนของภาษีเบียร์จากพฤติกรรมที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจเลือกบริโภคเบียร์ 0% มากขึ้น ซึ่งกรมเตรียมกำหนดพิกัดภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0% ขึ้นมา
สำหรับ อัตราระหว่าง ภาษีเครื่องดื่ม และ ภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อภาษีมีผลบังคับใช้ จะส่งผลให้ “สุรา เบียร์ ที่มีปริมาณสูงกว่ากำหนด” จะต้องเสียภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น เพื่อลดอัตราการบริโภค ดูแลสุขภาพประชาชน เช่นเดียวกับบุหรี่ไฟฟ้า ต้องมีการกำหนดอัตราภาษี เพื่อให้สามารถควบคุมปราบปราม บุหรี่ไฟฟ้าลักลอบ เป็นการช่วยเหลือสาธารณสุขได้อีกทางหนึ่ง
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เยอะ ต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้น มีความตั้งใจกำหนดอัตราให้สูงกว่าเครื่องดื่ม แต่ต่ำกว่าภาษีเบียร์ ถ้าแอลกอฮอล์สูงกว่ามาตรฐานก็ขยับภาษีเพิ่ม ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษา
คนละครึ่งเฟส 5 สัปดาห์แรก เงินสะพัด 5.8 พันล้านบาท
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยความคืบหน้าการใช้สิทธิมาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศ ปี 2565 ระยะที่ 2 ซึ่งประกอบด้วย โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 5 โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการ ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 3 และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 5
จากข้อมูลสะสม ณ วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2565 เวลา 23.00 น. พบว่า มีผู้ใช้สิทธิทุกโครงการรวม 23.78 ล้านคน และมียอดใช้จ่ายสะสมทั้งสิ้น
7,779.5 ล้านบาท โดยสรุปผลการใช้จ่ายได้ ดังนี้
1. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 5 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 9.02 ล้านคน และมียอดใช้จ่ายสะสม 1,792.6 ล้านบาท
2. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 514,716 คน และมียอดใช้จ่ายสะสม 101.8 ล้านบาท
3. โครงการคนละครึ่ง เฟส 5 มีผู้ใช้สิทธิที่เป็นประชาชนรายเดิมที่เคยใช้สิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 (ประชาชนรายเดิมฯ) จำนวน 14.14 ล้านคน คิดเป็นยอดใช้จ่ายสะสม 5,841.3 ล้านบาท และมีผู้ใช้สิทธิที่เป็นประชาชนรายใหม่ที่ไม่เคยใช้สิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 (ประชาชนรายใหม่ฯ) จำนวน 98,264 คน คิดเป็นยอดใช้จ่ายสะสม 43.8 ล้านบาท รวมมีผู้ใช้สิทธิทั้งหมดจำนวน 14.24 ล้านคน และมียอดใช้จ่ายรวม 5,885.1 ล้านบาท
แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่ายจำนวน 2,981.8 ล้านบาท และเงินที่รัฐร่วมจ่ายจำนวน 2,903.3 ล้านบาท
ทั้งนี้ สำหรับยอดใช้จ่ายสะสมแบ่งตามประเภทร้านค้า ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 2,070.3 ล้านบาท ร้านธงฟ้า 1,440.6 ล้านบาท ร้าน OTOP 317.1 ล้านบาท ร้านค้าทั่วไป 1,961.7 ล้านบาท ร้านบริการ 91.9 ล้านบาท และกิจการขนส่งสาธารณะ 3.5 ล้านบาท
มีประชาชนที่ได้รับสิทธิทั้งสิ้น 22.77 ล้านราย ซึ่งเป็นประชาชนรายเดิมฯ ที่ได้รับสิทธิจำนวน 22.56 ล้านราย สำหรับผู้ประกอบการร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 5 มีผู้ประกอบการร้านค้าเข้าร่วมแล้วจำนวน 8.68 แสนราย โดยเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ 1.51 หมื่นราย
ทั้งนี้ การใช้จ่ายผ่านผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 5 มียอดใช้จ่ายสะสม 175.9 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 90.6 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 85.3 ล้านบาท ในส่วนของผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มในโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 5 ที่ขายอาหารและเครื่องดื่ม ผ่านผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มมีจำนวน 7.55 หมื่นราย
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง