แนะนำ “การลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ” หลังอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น 0.75 เปอร์เซ็นต์

แนะนำ “การลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ” หลังอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น 0.75 เปอร์เซ็นต์

เงินเฟ้อลงทุนอะไรดี ? แนะนำแนวทางการลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 0.75 ตามนโยบายของประเทศไทย แก้ไขวิกฤติเการเงินที่ส่งผลกระทบทั่วโลก พร้อมแนวทางการฟื้นตัวเศรษฐกิจในประเทศไทย ขณะนี้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อซึ่งทำให้หลายคนมีคำถามทั้งในเรื่องของการลงทุนอะไรดีเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ รวมถึงการแก้ไขภาวะเงินเฟ้อโดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่าจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อลดต่ำลงและช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวได้หรือไม่

การลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ

มาถึงเรื่องการลงทุนกันก่อนซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายในการที่จะสามารลงทุนเพื่อสร้างผลกำไรในการเอาชนะเงินเฟ้อได้ ซึ่งนั่นก็มีทางเลือกอยู่พอสมควร อย่างเช่น การลงทุนในทองคำซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่สามารถรักษามูลค่าของตัวเองได้และสามารถช่วยป้องกันเงินเฟ้อได้ดี หรือจะเป็นการลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำ ถึงแม้จะมีความเสี่ยงสูงแต่ก็มีโอกาสสร้างกำไรในระยะยาวเพื่อให้สามารถเอาชนะภาวะเงินเฟ้อได้ รวมถึงหุ้นปันผลที่มีการจ่ายปันผลสูงอย่างต่อเนื่อง และมีอัตราการจ่ายปันผลสูงกว่าภาวะเงินเฟ้อก็ถือว่ามีความน่าสนใจ และที่ขาดไม่ได้ก็คือการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างเช่น คริปโตเคอร์เรนซีหรือการ เทรด forex ก็ยังเป็นเทรนด์การลงทุนที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน

สุดท้ายคือการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่หลายคนก็ยังพูดถึง แต่ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาถึงเงินเย็นที่นำไปลงทุนหรือดอกเบี้ยเงินกู้ในการนำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ในระยะยาว รวมถึงการสร้างกำไร เช่น การปล่อยเช่าหรือการขายต่ออสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ด้วย   ภาะเงินเฟ้อของประเทศไทย อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทยได้สร้างปัญหาใหญ่ที่ต้องยุติ อัตราที่สูงขึ้นของเฟดอาจเป็นปัจจัยที่ช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้ แต่สำหรับประเทศไทย การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้หรือไม่? ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม

เพราะอันที่จริง เศรษฐกิจของประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัว แต่ตามข่าวการเงินอัพเดท พบว่าสาเหตุที่แท้จริงของเงินเฟ้อในประเทศไทยเกิดจากต้นทุนการผลิตและบริการที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ขณะที่กำลังซื้อไม่ขยายตัวตามอุปสงค์

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แล้วการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะสามารถช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อของประเทศไทยได้หรือไม่? หลังจากที่รอดูท่าทีมาเป็นระยะเวลาพอสมควร ในที่สุดจากผลการประชุม “คณะกรรมการนโยบายการเงิน“ หรือ กนง. เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ก็มีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 0.50 เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี

ถือเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปี โดยให้มีผลทันที โดยให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง ทำให้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเป็นพิเศษมีความจำเป็นน้อยลงและเพื่อเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้กลับเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว

สำหรับการขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้เป็นการขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปและประเมินว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนมากนัก อีกทั้งยังเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีกว่าที่ประเมินไว้เนื่องจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

จากนี้ทิศทางการลงทุนควรจะเป็นเช่นไร รวมถึงผลจากการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่กำลังเกิดขึ้นนั้นจะช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อของประเทศไทยได้หรือไม่ก็คงจะต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดจากข่าวเศรษฐกิจและการเงินจากทั้งในและต่างประเทศต่อไป.

แก้ไขด่วน มีผู้ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่สมบูรณ์ 9 แสนราย

วันที่ 19 ก.ย.65 นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าการเปิดรับลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 5 – 19 ก.ย.65 ณ เวลา 12.00 น. มีประชาชนลงทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 14,984,824 ราย โดยเป็นการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ 9,180,479 ราย และลงทะเบียนผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียน 5,804,345 ราย

1.ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือhttps://welfare.mof.go.th ได้ตั้งแต่เวลา 6.00 น. ถึง 23.00 น. ของทุกวัน

2.ลงทะเบียนผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน จนถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2565

อย่างไรก็ดี จากการประกาศผลการสถานะการลงทะเบียน ของโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นข้อมูลผู้ที่ลงทะเบียนในระหว่างวันที่ 5 – 8 กันยายน 2565 พบว่า มีผู้ลงทะเบียน 964,270 ราย ที่มีสถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์ เนื่องจากข้อมูลของผู้ลงทะเบียนไม่ตรงตามฐานข้อมูลของกรมการปกครอง เช่น ไม่พบข้อมูลของผู้ลงทะเบียน สถานภาพเสียชีวิตหรือย้ายไปต่างประเทศ ไม่ได้มีสัญชาติไทย มีคู่สมรส เป็นต้น

หากสถานะเป็น “ผู้ลงทะเบียนมีคู่สมรส”แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าคู่สมรสของผู้ลงทะเบียนเสียชีวิตแล้วและมีใบมรณะบัตรของคู่สมรส หรือหาก “ผู้ลงทะเบียนแจ้งจำนวนบุตรไม่ครบถ้วนโปรดตรวจสอบจำนวนบุตรและข้อมูลเลขบัตรประชาชนของทุกราย” แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าบุตรของผู้ลงทะเบียนมีอายุเกิน 18 ปีบริบูรณ์แล้ว ขอให้ผู้ลงทะเบียนตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนอีกครั้งในวันที่ 20 กันยายน 2565 ตั้งแต่ 06.00 น. เป็นต้นไป

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า